เมนู

ความคด ความงอนั้นทั้งหมดให้ปรากฏด้วย ส่วนมนุษย์ คือทาส คนใช้
หรือกรรมกรของข้าพระพุทธเจ้า ย่อมพระพฤติด้วยกายเป็นอย่างหนึ่ง ด้วยวาจา
เป็นอย่างหนึ่ง และจิตของเขาเป็นอย่างหนึ่ง น่าอัศจรรย์ พระพุทธเจ้าข้า ไม่
เคยมี พระพุทธเจ้าข้า เพียงเท่านี้ พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่า
ย่อมทรงทราบประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ของสัตว์ทั้งหลายในเมื่อมนุษย์รกชัฏ
เป็นไปอยู่อย่างนี้ ในเมื่อมนุษย์เดนกาก เป็นไปอยู่อย่างนี้ ในเมื่อมนุษย์
โอ้อวด เป็นไปอยู่อย่างนี้ ก็สิ่งที่รกชัฏคือมนุษย์ สิ่งที่ตื้นคือสัตว์.

บุคคล 4 จำพวก


[8] พ. ดูก่อนเปสสะ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ดูก่อนเปสสะ ข้อนี้เป็น
อย่างนั้น ก็สิ่งที่รกชัฏ คือมนุษย์ สิ่งที่ตื้น คือสัตว์ ดูก่อนเปสสะ บุคคล 4
จำพวกนี้มีอยู่ หาได้อยู่ในโลก 4 จำพวกนั้นเป็นไฉน.
1. ดูก่อนเปสสะ บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำตนให้เดือดร้อน
ประกอบการขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน.
2. ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ ทำผู้อื่นให้เดือดร้อนและประ-
กอบความขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน.
3. บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำตนให้เดือดร้อน และประกอบ
ความขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน และประกอบ
ความขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน.
4. ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ประ-
กอบความขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่
ประกอบความขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน.

บุคคลผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อนนั้น ไม่มีความ
หิว ดับสนิท เป็นผู้เย็น เสวยแต่ความสุข มีตนเป็นดังพรหมอยู่ในปัจจุบัน
ดูก่อนเปสสะ บรรดาบุคคล 4 จำพวกนี้ จำพวกไหนจะยังจิตของท่านให้ยินดี.
[5] เป. พระพุทธเจ้าข้า บุคคลผู้ทำตนให้เดือดร้อน ประกอบความ
ขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อนนี้ ไม่ยังจิตของข้าพระพุทธเจ้าให้ยินดีได้
แม้บุคคลผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ประกอบความขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือด
ร้อน ก็ไม่ยังจิตของข้าพระพุทธเจ้าให้ยินดีได้ แม้บุคคลทำตนให้เดือดร้อน และ
ประกอบความขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน และ
ประกอบความขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ก็ไม่ยังจิตของข้าพระพุทธ
เจ้าให้ยินดีได้ ส่วนบุคคลใดไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ประกอบความขวนขวาย
ในการทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่ประกอบความขวนขวาย
ในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน บุคคลนั้นไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือด
ร้อน ไม่มีความหิว ดับสนิท เป็นผู้เย็น เสวยแต่ความสุข มีตนเป็นดังพรหม
อยู่ในปัจจุบัน บุคคลนี้ย่อมยังจิตของข้าพระพุทธเจ้าให้ยินดี.
พ. ดูก่อนเปสสะ ก็เพราะเหตุไรเล่า บุคคล 3 จำพวกนี้ จึงยังจิต
ของท่านให้ยินดีไม่ได้.
[6] เป. พระพุทธเจ้าข้า บุคคลผู้ทำตนให้เดือดร้อน ประกอบความ
ขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อนนี้ เขาย่อมทำตนซึ่งรักสุข เกลียดทุกข์ ให้
เดือดร้อน เร่าร้อน ด้วยเหตุนี้ บุคคลนี้จึงไม่ยังจิตของข้าพระพุทธเจ้าให้ยินดีได้
แม้บุคคลผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ประกอบความขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือด
ร้อน เขาก็ย่อมทำผู้อื่นซึ่งรักสุข เกลียดทุกข์ ให้เดือดร้อน เร่าร้อน ด้วยเหตุ
นี้ บุคคลนี้จึงไม่ยังจิตของข้าพระพุทธเจ้าให้ยินดีได้ แม้บุคคลผู้ทำตนให้เดือด
ร้อน และประกอบความขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน ทำผู้อื่นให้เดือด

ร้อน และประกอบความขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เขาก็ย่อมทำตน
และผู้อื่นซึ่งรักสุขเกลียดทุกข์ให้เดือดร้อน เร่าร้อน ด้วยเหตุนี้ บุคคลนี้จึง
ไม่ยังจิตของข้าพระพุทธเจ้าให้ยินดีได้ ก็แลบุคคลผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่
ประกอบความขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน เขาไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
ไม่ประกอบความขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เขาไม่ทำตนให้เดือด
ร้อนไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่มีความหิว ดับสนิท เป็นผู้เย็น เสวยแต่
ความสุข มีตนเป็นดังพรหมอยู่ในปัจจุบันนี้ ด้วยเหตุนี้ บุคคลนี้ ย่อมยังจิต
ของข้าพระพุทธเจ้าให้ยินดีได้ พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าจะขอลาไป
ณ บัดนี้ ข้าพระพุทธเจ้ามีกิจมาก มีธุระที่ต้องทำมาก.
พ. ดูก่อนเปสสะ บัดนี้ ท่านจงทราบกาลอันควรเถิด.
ลำดับนั้น นายเปสสหัตถาโรหบุตรชื่นชมอนุโมทนาภาษิตพระผู้มี-
พระภาคเจ้า แล้วลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า กระทำ
ประทักษิณ แล้วหลีกไป.
[7] ครั้งนั้น เมื่อนายเปสสหัตถาโรหบุตรหลีกไปไม่นาน พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นายเปสสหัตถา-
โรหบุตรเป็นบัณฑิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นายเปสสหัตถาโรหบุตรมีปัญญามาก
ถ้านายเปสสหัตถาโรหบุตรพึงนั่งอยู่ครู่หนึ่ง ชั่วเวลาที่เราจำแนกบุคคล 4
จำพวกนี้โดยพิสดารแก่เขา เขาจักเป็นผู้ประกอบด้วยประโยชน์ใหญ่ อนึ่ง แม้
ด้วยการฟังโดยสังเขปเพียงเท่านี้ นายเปสสหัตถาโรหบุตรยังประกอบด้วย
ประโยชน์ใหญ่ พวกภิกษุกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า นี้เป็นกาล
ข้าแต่พระสุคต นี้เป็นกาลของการที่พระผู้มีพระภาคเจ้า จะพึงทรงจำแนก
บุคคล 4 จำพวก นี้โดยพิสดาร ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
โดยพิสดารแล้วจักทรงจำไว้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น เธอ
ทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้จงดี เราจักกล่าว. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าแล้ว.
[8] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ทำ
ตนให้เดือดร้อน ประกอบความขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน เป็นไฉน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางตนในโลกนี้ เป็นคนเปลือย ทอดทิ้ง
มารยาท เลียมือ เขาเชิญให้มารับภิกษา ก็ไม่มา เขาเชิญให้หยุด ก็ไม่หยุด ไม่
ยินดีรับภิกษาที่เขานำมาให้ ไม่ยินดีรับภิกษาที่เขาทำเฉพาะ ไม่ยินดีรับภิกษา
ที่เขานิมนต์ ไม่รับภิกษาปากหม้อ ไม่รับภิกษาจากปากกระเช้า ไม่รับภิกษา
คร่อมธรณีประตู ไม่รับภิกษาคร่อมท่อนไม้ ไม่รับภิกษาคร่อมสาก ไม่รับภิกษา
ของคน 2 คนที่กำลังบริโภคอยู่ ไม่รับภิกษาของหญิงมีครรภ์ ไม่รับภิกษา
ของหญิงผู้กำลังให้ลูกดูดนม ไม่รับภิกษาของหญิงผู้คลอเคลียบุรุษ ไม่รับภิกษา
ที่นัดแนะกันทำไว้ ไม่รับภิกษาในที่ที่เขาเลี้ยงสุนัข ไม่รับภิกษาในที่มีแมลงวัน
ไต่ตอมเป็นกลุ่ม ไม่รับปลา ไม่รับเนื้อ ไม่ดื่มสุรา ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มน้ำ
หมักดอง เขารับภิกษาที่เรือนหลังเดียวเยียวยาอัตภาพด้วยข้าวคำเดียวบ้าง รับ
ภิกษาที่เรือน 2 หลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว 2 คำบ้าง รับภิกขาที่เรือน 3
หลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว 3 คำบ้าง รับภิกษาที่เรือน 4 หลัง เยียวยาอัตภาพ
ด้วยข้าว 4 คำบ้าง รับภิกษาที่เรือน 5 หลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว 5 คำ
บ้าง รับภิกษาที่เรือน 6 หลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว 6 คำบ้าง รับภิกษาที่
เรือน 7 หลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว 7 คำบ้าง เยียวยาอัตภาพด้วยภิกษา
ในถาดน้อยใบเดียวบ้าง 2 ใบบ้าง 3 ใบบ้าง 4 ใบบ้าง 5 ใบบ้าง 6 ใบบ้าง
7 ใบบ้าง กินอาหารที่เก็บค้างไว้วันหนึ่งบ้าง 2 วันบ้าง 3 วันบ้าง 4 วันบ้าง

5 วันบ้าง 6 วันบ้าง 7 วันบ้าง เป็นผู้ประกอบความขวนขวายในการบริโภค
ภัตที่เวียนมากึ่งเดือนบ้าง แม้เช่นนี้ด้วยประการฉะนี้อยู่ เขาเป็นผู้มีผักดองเป็น
ภักษาบ้างมีข้าวฟ่างเป็นภักษาบ้าง มีลูกเดือยเป็นภักษาบ้าง มีกากข้าวเป็นภักษา
บ้าง มีสาหร่ายเป็นภักษาบ้าง มีรำเป็นภักษาบ้าง มีข้าวตังเป็นภักษาบ้าง
มีข้าวไหม้เป็นภักษาบ้าง มีหญ้าเป็นภักษาบ้าง มีโคมัยเป็นภักษาบ้าง มีเหง้า
มันและผลไม้ในป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้ที่หล่นเองเยียวยาอัตภาพ.
เขาทรงผ้าป่านบ้าง ผ้าแกมกันบ้าง ผ้าห่อศพบ้าง ผ้าบังสกุลบ้าง
ผ้าเปลือกไม้บ้าง หนังเสือบ้าง หนังเสือทั้งเล็บบ้าง ผ้าคากรองบ้าง ผ้า
เปลือกปอกรองบ้าง ผ้าผลไม้กรองบ้าง ผ้ากัมพลทำด้วยผมคนบ้าง ผ้ากัมพล
ทำด้วยขนสัตว์บ้าง ทำด้วยขนปีกนกเค้าบ้าง เป็นผู้ถอนผมและหนวด คือประ-
กอบความขวนขวายในการถอนผมและหนวดบ้าง เป็นผู้ยืน คือห้ามอาสนะ
บ้าง เป็นผู้กระหย่ง คือ ประกอบความเพียรในการกระหย่ง [คือเดินกระ-
หย่งเหยียบพื้นไม่เต็มเท้า] บ้าง เป็นผู้นอนบนหนาม คือสำเร็จการนอนบน
หนามบ้าง เป็นผู้อาบน้ำวันละ 3 ครั้ง ประกอบความขวนขวายในการลงน้ำ
บ้าง เป็นผู้ประกอบความขวนขวายในการทำกายให้เดือดร้อนเร่าร้อนหลาย
อย่างเห็นปานนี้อยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เรากล่าวว่า เป็นผู้ทำตนให้
เดือดร้อน ประกอบความขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน.
[9] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ประกอบ
ความขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นไฉน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ฆ่าแพะเลี้ยงชีวิต ฆ่า
สุกรเลี้ยงชีวิต ฆ่านกเลี้ยงชีวิต ฆ่าเนื้อเลี้ยงชีวิต เป็นคนเหี้ยมโหด เป็นคน
ฆ่าปลา เป็นโจร เป็นคนฆ่าโจร เป็นคนปกครองเรือนจำ หรือบุคคลเหล่าอื่น

บางพวกเป็นผู้ทำการงานอันทารุณ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้ เรากล่าวว่า
เป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ประกอบความขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือด
ร้อน.
[10] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ทำตนให้เดือดร้อน และประ-
กอบความขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน ทำผู้อื่นให้เดือนร้อน และ ะ
ประกอบความขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นไฉน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นพระราชามหากษัตริย์
ผู้ได้มุรธาภิเษกแล้วก็ดี เป็นพราหมณ์มหาศาลก็ดี พระราชาหรือพราหมณ์นั้น
โปรดให้ทำโรงที่บูชายัญขึ้นใหม่ทางด้านบูรพาแห่งนคร แล้วทรงจำเริญพระ-
เกศาและพระมัสสุ ทรงนุ่งหนังเสือทั้งเล็บ ทรงทาพระกายด้วยเนยใสและ
น้ำมันงา ทรงเกาพระปฤษฎางค์ด้วยเขามฤค เข้าไปยังโรงที่บูชายัญใหม่ พร้อม
ด้วยพระมเหสีและพราหมณ์ปุโรหิต บรรทมบนพื้นดิน อันมิได้ลาดด้วยเครื่อง
ลาด เขาทาด้วยโคมัยสด น้ำนมในเท้าที่หนึ่งแห่งโคแม่ลูกอ่อนตัวเดียวมีเท่าใด
พระราชาทรงเยียวยาอัตภาพด้วยน้ำนมเท่านั้น น้ำนมในเต้าที่ 2 มีเท่าใด
พระมเหสีทรงเยียวยาอัตภาพด้วยน้ำนมเท่านั้น น้ำนมในเต้าที่ 3 มีเท่าใด
พราหมณ์ปุโรหิต ย่อมเยียวยาอัตภาพด้วยน้ำนมเท่านั้น น้ำนมในเท้าที่ 4 มี
เท่าใด ก็บูชาไฟด้วยน้ำนมเท่านั้น ลูกโคเยียวยาอัตภาพด้วยน้ำนมที่เหลือ
พระราชาหรือพราหมณ์นั้นตรัสอย่างนี้ว่า เพื่อต้องการบูชายัญ จงฆ่าโคผู้ประ-
มาณเท่านี้ ลูกโคผู้ประมาณเท่านี้ ลูกโคเมียประมาณเท่านี้ แพะประมาณเท่านี้
ม้าประมาณเท่านี้ จงตัดต้นไม้ประมาณเท่านี้ เพื่อต้องการทำเป็นเสายัญ จง
เกี่ยวหญ้าประมาณเท่านี้ เพื่อต้องการลาดพื้น ชนเหล่าที่เป็นทาสก็ดี เป็น
คนใช้ก็ดี เป็นกรรมกรก็ดี ของพระราชาหรือพราหมณ์นั้น ชนเหล่านั้นถูก

อาชญาคุกคาม ถูกภัยคุกคาม มีน้ำตานองหน้า ร้องไห้ ทำการงานตามกำหนด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้ เรากล่าวว่า ผู้ทำคนให้เดือดร้อน ประกอบ
ความขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน และทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ประ-
กอบความขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน.

กถาว่าด้วยพระพุทธคุณ



[11] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่
ประกอบความขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
ไม่ประกอบความขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เขาไม่ทำตนให้เดือด-
ร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่มีความหิว ดับสนิท เป็นผู้เย็น เสวยแต่
ความสุข มีตนเป็นดังพรหมอยู่ในปัจจุบัน เป็นไฉน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตเสด็จอุบัติโนโลกนี้ เป็นพระอรหันต์
ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้ง
โลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม พระตถาคตพระ-
องค์นั้น ทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ได้แจ้งชัด ด้วย
ปัญญาอันยิ่งของพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์
เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งาม
ในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริ-
บูรณ์สิ้นเชิง คฤหบดี บุตรคฤหบดี หรือผู้เกิดเฉพาะในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง
ย่อมฟังธรรมนั้น ครั้นฟังแล้วได้ศรัทธาในพระตถาคต เมื่อได้ศรัทธาแล้ว
ย่อมเห็นตระหนักว่า ฆราวาสดับแคบเป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นทาง